มาเรียนหมากล้อมกับนักหมากล้อมระดับ 4 ดั้ง(ไทย) 7 ดั้ง Nihon Kiin ญี่ปุ่น พี่เสือนักหมากล้อมระดับ 4 ดั้ง(ไทย) 7 ดั้ง Nihon Kiin ญี่ปุ่น

Swiss-System Tournament เป็นระบบในการจับคู่การแข่งขัน เพื่อจัดลำดับของผู้แข่งขัน




Swiss-System Tournament เป็นระบบในการจับคู่การแข่งขัน เพื่อจัดลำดับของผู้แข่งขัน ซึ่งต่างจากแบบ พบกันหมด Round-ribbon หรือ แพ้คัดออก Knockout ระบบ Swiss-System จะไม่คัดผู้แข่งขันที่แพ้ออกจากการแข่งขัน หรือสามารถแข่งขันได้จนจบ แต่จะมีรอบการแข่งขันน้อยกว่าแบบ พบกันหมด


การจัดแบบ พบกันหมด เหมาะกับรายการที่มี จำนวนผู้แข่งขันน้อย เช่นถ้ามีผู้แข่งขัน ทั้งหมด 16 ราย ก็ต้องจัดการแข่งขัน 15 รอบ ส่วนการจัดแบบ แพ้คัดออก จะจัดเหลือเพียง 4 รอบ แต่ผู้ที่ชนะไม่แน่ว่าจะเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุด และมักสนใจแต่ผู้ที่ชนะเลิศ หรือลงมาเพียงถึงลำดับที่ 4 และมีเพียงผู้แข่งขันเล่นครบทั้ง 4 รอบ เพียง 4 คน จึงไม่เหมาะกับการแข่งขันบางประเภท โดยเฉพาะ เกมหมากกระดาน เช่น หมากรุก


ชื่อ Swiss-Sysyem มาจาก ใช้ครั้งแรก ในการแข่งขัน หมากรุก ที่ Zurich ประเทศ สวิส ในปี 1895 คิดโดย Julius Müller ในปัจจุบัน เกมที่นิยมใช้ระบบนี้ มีหลายเกม ได้แก่ chess, go, bridge และ Scrabble


swiss system เป็นระบบจัดการการจับคู่แข่งขัน โดยให้กำหนดรอบการแข่งขันคงที่ โดยรอบจะน้อยกว่าการจับคู่แบบพบกันหมด และให้แต้ม Score ในการแข่งแต่ละรอบเหมือนกัน ในการจับคู่ไม่สามารถจับคู่แข่งขันเดิมมากกว่า หนึ่งครั้ง ผู้ชนะ คือผู้แข่งที่มีผลรวมของแต้มสูงที่สุด


ขบวนการในการจับคู่ ในรอบแรก จะจับคู่ด้วยการสุ่ม ในบางแบบการจับคู่อาจเรียงลำดับ หรือมือวาง การจับคู่จะแบ่งตามกลุ่มที่มีแต้มเท่ากัน หรือใกล้เคียงกันที่สุด แบ่งครึ่งกลุ่ม ผู้แข่งตำแหน่งแรกของครึ่งกลุ่มบน พบกับผู้แข่งตำแหน่งแรกของกลุ่มล่าง เช่น ในกลุ่มมีจำนวน 8 ผู้แข่ง ผู้แข่งอันดับที่ 1 จะจับคู่กับผู้แข่งอันดับที่ 5 ผู้แข่งอันดับที่ 2 จะจับคู่กับผู้แข่งอันดับที่ 6 เรียงเช่นนี้ไปจนหมด ในรอบถัดไปจะเรียงลำดับตามแต้มสะสม จากผลการแข่งในรอบก่อนๆ โดยยึดหลัก ไม่มีการจับคู่เดิมที่เคยแข่งขันในรอบก่อน และหลีกเลี่ยงการจับคู่ ทำให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ เช่นใน หมากรุก การถือสีขาวได้เปรียบเพราะเดินก่อน และหมากรุกไม่มีการให้แต้มต่อ


เพื่อให้ผลการแข่งขัน มีความเสถียร จึงมักให้มีรอบการแข่งขัน มากกว่ารอบการจัดแบบ Knockout หนึ่ง หรือสองรอบ เพื่อให้ผลการแข่งขันมีความเสถียรขึ้น


ส่วน เรื่อง SOS และ SOSOS ขอยกยอดไปครั้งหน้า


ท่านผู้รู้อื่น หากเห็นด้วยหรือเห็นต่างประการใด ในประเด็นนี้ สามารถแบ่งปัน ความรู้ หรือความคิดเห็นร่วมกันได้ เพราะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน โดยผมเองไม่ยกตนเป็นผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญใดๆ เพียงต้องการยกข้อสังเกตุต่างๆ เพื่อให้ผู้รู้ทั้งหลายได้ร่วมแสดงความคิดเห็น

ขอบคุณ


0 ความคิดเห็น